วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563


เทคโนโลยีอวกาศ

          เทคโนโลยีอวกาศ (อังกฤษ: Space Technology) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสำรวจสิ่งต่างๆ ทั้งในโลกและที่อยู่นอกโลก ในปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาเกิดขึ้นมากมาย โดยองค์การต่างๆ และองค์การที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ คือองค์การนาซ่า ของประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ในการสำรวจสิ่งที่ต้องการ ศึกษาสิ่งต่างๆ ในจักรวาล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ ในด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร การสำรวจทรัพยากรโลก


 

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ 
         ปัจจุบันสิ่งประดิษฐ์ที่อาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมีมากมายหลายชิ้น โดยเฉพาะการสร้างดาวเทียมประเภทต่าง ๆ ขึ้นมาช่วยอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ 
 ด้านการสื่อสาร
          ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม ทั้งที่เป็นการสื่อสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้สำรับกิจการโทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร รวมทั้งการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และสัญญาณวิทยุ
ด้านการพยากรณ์อากาศ
          ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศที่ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา เช่น จำนวนและชนิดของเมฆ ความแปรปรวนของอากาศ ความเร็วลม ความชื้น อุณหภูมิ ทำให้สามารถเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะการเกิดลาพายุ
 ด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
          ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เป็นดาวเที่ยมที่ถูกใช้เป็นสถานีเคลื่อนที่สำรวจดูพื้นที่ผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ทราบข้อมูลทั้งทางด้านธรณีวิทยา นิเวศวิทยา เป็นประโยชน์ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ




เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย (Body Area Network : BAN)

          เทคโนโลยีของการสื่อสารไร้สายกำเนิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อครั้งที่ กูเกียเอลโม มาร์โคนี ได้สาธิตการส่งสัญญาณโทรเลขแบบไร้สายเป็นครั้งแรกของโลกในปี ค.ศ.1896 โดยได้ระยะทางไกล 1.75 ไมล์ นับแต่นั้นมา ความสำเร็จในการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายตลอดช่วงเวลาหนึ่งศตวรรต เช่น วิทยุเอเอ็ม/เอฟเอ็ม โทรทัศน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ตไร้สาย รวมไปถึงการสื่อสารผ่านดาวเทียม ได้นำมาซึ่งประโยชน์อันมหาศาลและการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายต่อมนุษยชาติ ที่น่าสนใจคือการคิดค้นและพัฒนาการสื่อสารไร้สายไม่เคยหยุดนิ่ง กลับทวีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว วันนี้ นักวิจัยและวิศวกรทางด้านไฟฟ้าสื่อสารกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Body Area Network (BAN) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นโครงข่ายการสื่อสารสำหรับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เนื่องจากที่ผ่านมาการสื่อสารของมนุษย์กับโลกภายนอกจะเกี่ยวข้องกับอวัยวะหลักเพียง 3 ชิ้น คือ ตา หู และปาก เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต และคุยโทรศัพท์ แต่วันนี้เทคโนโลยี BAN มุ่งเน้นไปที่อวัยวะทุกชิ้นส่วนของร่างกายให้สามารถสื่อสารเชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้ ดังนั้น โครงข่ายสื่อสารไร้สาย BAN นี้จึงเป็นประโยชน์โดยตรงต่อวงการวิชาการทางแพทย์ สำหรับการรักษาดูแลสุขภาพ การตรวจวัดสมรรถนะของร่างกาย การติดตามเฝ้าดูอาการผู้ป่วย การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และการวินิจฉัยโรคที่มีความถูกต้องและทันเวลา

หลักการทำงาน
1.ข้อมูลหลายๆ ชนิดสามารถ ส่งแบบไร้สาย เช่น การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ เสียงโทรศัพท์ การส่งสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุ ในขั้นตอนแรกข้อมูลที่ถูกส่งจะสร้างมาจากมาจากอุปกรณ์ที่สร้างข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์มือถือ สถานีวิทยุ หรือโทรศัพท์มือถือเป็นต้น
 2.ข้อมูลที่ถูกส่งจะไปผสมกับคลื่นความถี่วิทยุ (RF) โดยกระบวนการโมดูเลชัน (Modulation) สัญญาณที่จะเป็นตัวส่งข้อมูลเรียกว่าคลื่นตัวนำ (Carrier Wave) ข้อมูลจะถูกผสมไปกับคลื่นตัวนำ โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมดูเลเตอร์ (Modulator) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีวิธีการหลายวิธีในการโมดูเลตข้อมูลไปกับคลื่นตัวนำโมดูเลเตอร์อาจจะรวมอยู่กับอุปกรณ์ที่สร้างข้อมูลอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออาจแยกอยู่ต่างหากเช่นโทรทัศน์
3.สัญญาณจะถูกส่งโดยอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่จะนำสัญญาณมาและส่งออกไปโดยผ่านทางอากาศ อุปกรณ์สัญญาณนั้นมีหลายแบบโดยขึ้นอยู่กับชนิดข้อมูลที่จะส่งระยะทาง และความเร็วของสัญญาณ และขนาดนั้นอาจเล็กมากเหมือนที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือหรืออาจจะใหญ่มากเหมือนเสาอากาศส่งสัญญาณของโทรทัศน์
4.อุปกรณ์รับสัญญาณสามารถรับสัญญาณได้โดยตรงหรืออาจผ่านทางระบบเครือข่ายโดยขึ้นอยู่กับชนิดข้อมูลที่ส่ง ในกรณีของโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์มือถือเมื่อจะติดต่อกับอินเทอร์เน็ตมันจะส่งสัญญาณไปที่เครือข่ายและส่งต่อไปยังผู้รับโดยใช้อุปกรณ์ส่งสัญญาณ (Transmitter)
5.ที่จุดรับสัญญาณ เสาอากาศหรือสายอากาศจะรับคลื่นวิทยุที่ต้องการและไม่รับคลื่นที่เหลือ อุปกรณ์รับสัญญาณจะใช้ แอมพลิไฟเออร์ (Amplifier) เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสัญญาณเนื่องจากสัญญาณที่รับมานั้นจะอ่อนมาก
6.โมดูเลเตอร์ จะทำการแปลสัญญาณและแยกคลื่นตัวนำออกจากข้อมูลถูกส่งมาพร้อมกัน เพื่อที่จะเปลี่ยนกลับไปเป็นข้อมูลดังเดิมที่สั่งมา
7.ข้อมูลที่ถูกส่งมายังอุปกรณ์รับสัญญาณ สามารถแสดงข้อมูลที่ส่งมาได้แล้ว

ข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีไร้สาย
     ข้อดี
          -ช่วยลดปัญหาในการติดตั้งระบบเครือข่าย
          -ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย
          -ไม่ต้องใช้สาย cable
          -ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย
     ข้อเสีย
          -มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
         -มีสัญญาณรบกวนสูง
         -ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
         -ยังมีหลายมาตรฐานตามผู้ผลิตแต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน

         

เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

          เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
          เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น
          สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ

นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
1.          เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2.          เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
3.          เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4.          เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5.          เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6.          เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล




เทคโนโลยีอวกาศ           เทคโนโลยีอวกาศ (อังกฤษ: Space Technology ) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสำรวจสิ่งต่างๆ ทั้งในโลกและที่อยู่นอกโลก ...